วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



     การสร้างโครงสร้างของเว็บเพจบนเว็บไซด์ของเรา หรือบางคนเรียกเรียกว่าการทำแผนที่เว็บไซด์ (Site map) บางคนนั้นถือเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเป็นอย่างมาก แต่สำหรับใน Bootstrap 3 แล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายอย่างมาก เพราะ  Bootstrap ได้มีการสร้างฟังก์ชั้นที่สนับสนุนการสร้างแผนที่เว็บไซด์ โดยการเรียกใช้  Breadcrumb นั้นเอง

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



     Navbar คือเมนูบาร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญบนเว็บไซด์ของหลายๆ เว็บไซด์ โดยในปัจจุบันอาจจะมีทั้ง DHTML, JQUERY หรือ JAVASCRIPT ที่มาช่วยให้เราสร้างเมนูบาร์ได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการสร้างเมนูบาร์เพื่อให้รองรับการแสดงผลแบบ Responsive ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สร้างเว็บไซด์มือใหม่ทั้งหลายอยู่ดี แต่ใน Bootstrap ได้มีการพัฒนาฟิจเจอร์เพื่อรองรับการสร้าง Navbar ให้มีความสะดวกและง่ายสำหรับผู้สร้างเว็บไซด์ อีกทั้งยังรองรับการแสดงผลแบบ Responsive อีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



     Navs คือการสร้างเมนูบาร์บนเว็บไซด์ในรูปแบบแนวตั้งและแนวนอน อย่างที่เราเคยเห็นกันในทุกๆเว็บไซด์จำเป็นต้องมีการสร้างเมนูบาร์ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถที่จะเข้าไปถึงหน้าต่างๆที่อยู่ในเว็บไซด์ได้ง่าย  นอกจากนี้การสร้าง Navs ใน Bootstrap ยังสามารถกำหนดให้ลิงค์ที่อยู่ในแต่ละ Navs สามารถแสดงในรูปแบบแท็บหรือแบบปุ่มได้อีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557



     List group เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่เราพบกันบ่อยในเว็บไซด์ โดยส่วนใหญ่เราจะใช้ List group กับพวกเมนูต่างๆ หรือข้อความที่แสดงในลักษณะที่เป็นแถวยาวๆ (คล้ายกับข่าวที่ฟีดบนทวิตเตอร์) ซึ่ง List group ที่ Bootstrap สร้างไว้ให้นั้นมีลูกเล่นที่หลากหลายไว้ให้เราได้ใช้งาน เช่น การแสดงข้อความลักษณะการแจ้งเตือนต่อจากเมนู (คล้ายกับการแสดงจำนวนตัวเลขของจดหมายที่ยังไม้ได้อ่านบนอีเมลล์)


วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557



     ปกติถ้าเราต้องการย่อขนาดของรูป (Thumbnail) ที่เรานำเสนอบนเว็บไซด์ให้เข้ากับตำแหน่งที่เราเตรียมไว้ เราต้องกำหนดขนาดพิกเซลให้กับขนาดของรูป หรือเราจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง (re-size) ขนาดรูปภาพด้วยโปรแกรมต่าง เพื่อให้มีขนาดพอดีกับตำแหน่งที่เราได้จัดเตรียมไว้  แต่ถ้าเราใช้ Bootstrap การย่อขนาดของรูปให้มีความเหมาะสมกับขนาดที่เราได้จัดเตรียมไว้ก็จะมีความง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Bootstrap ยังตกแต่งรูปที่ถูกย่อขนาดให้มีความสวยงาม ด้วยการใส่กรอบรูป และใส่เอฟเฟกต์โดยการเปลี่ยนสีกรอบเป็นสีน้ำเงิน เมื่อรูปภาพนั้นถูกนั้นเมาส์ไปชี้


วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

   
     Media Object เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งบนเว็บไซด์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกล่องข้อความ ซึ่ง Media Object ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การแสดงรูปภาพและเนื้อหาของข่าว หรือการแสดงข้อความในส่วนของคอมเม้นต์บนเว็บบอร์ดต่างๆ เป็นต้น โดยปกติกว่าที่เราจะสร้างกล่องข้อความที่มีทั้งเนื้อหาและรูปภาพได้อย่างสวยงามนั้นอาจต้องใช้เวลานาน แต่เมื่อเราใช้ฟิวเจอร์ของ Bootstrap นั้นจะช่วยให้เราประหยัดเวลาในการพัฒนาเว็บไซด์ไปได้มาก


วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557


     พาเนล (Panel) บน Bootstrap เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลข้อความหรือรูปภาพในกล่องข้อความ ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม โดยขั้นตอนการสร้างพาเนลมีขั้นตอนที่ง่ายมากดังต่อไปนี้


วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557



     ในบทเรียนก่อนหน้านี้เราได้เรียนรู้วิธีการจัดการ Grid System บน Bootstrap 3 ไปแล้วพอสมควร ได้วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งฟังก์ชั่นพื้นฐานของ Grid System นั้นคือการจัดเรียงลำดับคอลัมน์ โดยการจัดเรียงคอลัมน์บน Grid System นั้นก็เหมือนการจัดเยื้องซ้าย หรือเยื้องขวาบน MS Word นั้นเอง ซึ่งจะช่วยให้การจัดวางเนื้อหาบนเว็บไซด์นั้นมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น


วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557




     หลังจากได้เรียนนรู้วิธีสร้าง Grid System โดยใช้ Bootstrap เรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาลองสร้างบล๊อกแบบง่ายๆ ที่รองรับการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ แท๊บแล๊ตและมือถือ โดยรูปแบบของบล๊อกที่เราจะพัฒนาเพื่อรองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ดังกล่าวแสดงในรูปที่ 1, 2และ 3 ตามลำดับ

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557




อย่างที่เคยกล่าวในบทที่ 1 ว่า  Bootstrap นั้นรองรับการแสดงผลทั้งบนคอมพิวเตอร์ มือถือและแท็บแล็ต โดยการแสดงผลดังกล่าว Bootstrap นั้นใช้ Grid System  เข้ามาจัดการการแสดงผลเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้น


วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557




Bootstrap คือ เฟรมเวิร์ค Front-end ที่ทำให้นักพัฒนาเว็บเพจสามารถสร้างเว็บเพจได้รวดเร็วและง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Bootstrap นั้นได้สร้าง Plugin สำหรับเร็จรูปให้กับนักพัฒนาได้หลายอย่างเช่น เมนูบาร์ พาเนลในรูปแบบต่างๆ ข้อความเตือนในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นนักพัฒนาจึงไม่จำเป็นที่ต้องมาเสียเวลาเขียนโค้ด HTML เองขึ้นมา นอกจากนี้ Bootstrap ยังรองรับการแสดงผลในอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น บนมือถือ บนแท็บแล็ต และบนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นนักพัฒนาจึงไม่จำเป็นที่ต้องเสียเวลาพัฒนาเว็บหลายเวอร์ชั่น เพื่อให้เว็บของเราสามารถแสดงผลบนอุปกรณ์เหล่านั้น


วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557


     Syntax Highlighter  เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนามาจาก JavaScript ที่ถูกสร้างมาเพื่อใช้แสดงผลโค้ดของบรรดาเหล่า Programmer ทั้งหลายให้มีความสวยงาม และให้คนที่มาอ่านสามารถอ่านได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ดังรูป



     สำหรับการนำ Syntax Highlighter มาใช้ร่วมกับ Blogger ของ Google นั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ดังต่อไปนี้


Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!